ข่าวที่ว่า หนี้สาธารณะ ปี 2564 ทะลุเพดานไม่เป็นความจริง

ข่าวที่ว่า หนี้สาธารณะ ปี 2564 ทะลุเพดานไม่เป็นความจริง

จากการนำเสนอของเพจ “วิชชั่นใหม่เพื่อเศรษฐกิจไทยมั่นคง” ที่ได้แพร่ข่าวที่ว่า หนี้สาธารณะ ในปี 2564 นั้นสูงขึ้นทะลุเพดานเดิมที่อยู่ในเวลานี้นั้น ถือว่าไม่เป็นควาจริงแต่อย่างใด ตามที่เพจ “วิชชั่นใหม่ เพื่อเศรษฐกิจไทยมั่นคง” ได้มีการเผยแพร่ข่าว ว่า “ธนาคารโลกรายงานประเด็นเศรษฐกิจไทยจะเผชิญภาวะวิกฤตอย่างรุนแรง หนึ่งในปัญหาสำคัญที่สุด คือ ตัวเลข หนี้สาธารณะ ประจำปี 2564 นั้นเพิ่มขึ้นทะลุเพดานสูงสุดในรอบ 18 ปี ซึ่งเกิดจากรัฐบาลกู้เงินจำนวน 1.9 ล้านล้านบาท คิดเป็น 13% ของ GDP” นั้น

นางจินดารัตน์ วิริยะทวีกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอชี้แจงว่า ข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริง และขอชี้แจงในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหนี้สาธารณะ ดังนี้

สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชีวิตและสุขภาพอนามัยของประชาชนทุกสาขาอาชีพในวงกว้าง (Pandemic) การดำเนินมาตรการควบคุมและยับยั้งการแพร่ระบาด ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของทุกภาคส่วนทั่วโลกเกิดภาวะชะงักงันอย่างฉับพลัน นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงและขยายเป็นวงกว้างทั่วโลกและยังไม่สามารถคาดการณ์การหยุดการระบาดได้

ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 อย่างรุนแรงเช่นกัน รัฐบาลจึงได้ตราพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) เพื่อรองรับผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากปัญหาการแพร่ระบาดของ COVID-19 จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่

1) พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน วงเงิน 1 ล้านล้านบาท

2) พ.ร.ก. ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 วงเงิน 500,000 ล้านบาท

3) พ.ร.ก. การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ วงเงิน 400,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ พ.ร.ก. 2) และ 3) เป็นการช่วยเหลือทางการเงินและการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน มิได้เป็นการกู้เงินเพื่อนำไปดำเนินงาน จึงไม่นับเป็นหนี้สาธารณะ ดังนั้น สรุปได้ว่า รัฐบาลจะมีภาระจากการกู้เงินโดยตรงเพียง 1 ล้านล้านบาท มิใช่ 1.9 ล้านล้านบาท ซึ่งปัจจุบันกระทรวงการคลังดำเนินการกู้เงินภายใต้ พ.ร.ก. ดังกล่าวแล้วจำนวน 348,761 ล้านบาท

สำหรับหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 7.8 ล้านล้านบาท โดยมีสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เท่ากับ ร้อยละ 49.53 ซึ่งยังคงอยู่ภายใต้กรอบวินัยทางการคลังซึ่งกำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ขณะที่ปี 2543 มีสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP สูงสุดเท่ากับ ร้อยละ 59.98 เนื่องจากประสบกับวิกฤติของสถาบันการเงินในประเทศ

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาสัดส่วนหนี้ภาครัฐบาล (General Government Debt) พบว่า รัฐบาลไทยมีหนี้อยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 44.37) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่และกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย (Emerging and Developing Asia Countries) ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 62.89 (IMF, 2563)

ออมสิน ชู เงินฝาก ดอกเบี้ยสูง 3.52% ในงาน Thailand Smart Money

นายอิสระ วงค์รุ่ง รองผู้อำนวยการธนาคาร ออมสิน กลุ่มลูกค้าบุคคล เปิดเผยว่า ธนาคารฯ ได้นำบริการทางการเงินครบวงจรเข้าร่วมงาน Thailand Smart Money กรุงเทพ ระหว่างวันที่ 11-13 ธันวาคม 2563 ณ ห้องสกายฮอลล์ ชั้น 3 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลลาดพร้าว โดยมีผลิตภัณฑ์ที่ธนาคารนำเสนอเป็นไฮไลท์ในงาน คือ เงินฝาก เผื่อเรียกพิเศษ 107 ระยะเวลาฝาก 107 วัน ให้ดอกเบี้ยสูงเฉลี่ยเทียบเท่าเงินฝากประจำ 3.52% ต่อปี

ผู้สนใจสามารถรับใบจองสิทธิ์ได้ภายในงานเพียง 500 สิทธิ์เท่านั้น โดยเปิดรับใบจองสิทธิ์วันละ 2 รอบ เวลา 11.00 น.และเวลา 14.00 น. เฉพาะวันเปิดงานวันที่ 11ธันวาคม 2563 จะเปิดรับใบจองสิทธิ์ เวลา 13.00 น. รอบเดียวเท่านั้น รอบๆ ละ 100 สิทธิ์ ถึงก่อน ต่อคิวก่อน มีสิทธิ์รับใบจองสิทธิ์ก่อน

รับฝากเฉพาะบุคคลธรรมดา อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ฝากได้คนละ 1 บัญชี เปิดบัญชีขั้นต่ำ 10,000 บาท ฝากสูงสุดไม่เกินรายละ 500,000 บาท

เปิดบัญชีภายในงานหรือที่สาขาใดก็ได้ระหว่างวันที่ 11 – 20 ธันวาคม 2563 ทั้งนี้ผู้ฝากต้องใช้บริการ Mobile Banking (MyMo) และบัตรเดบิตของธนาคารออมสินจนกว่าจะสิ้นสุดโครงการ

ด้านโปรโมชั่นเงินกู้ “สินเชื่อเคหะ” สำหรับการซื้อที่อยู่อาศัย ปลูกสร้าง ต่อเติมซ่อมแซม หรือไถ่ถอนจำนอง (รีไฟแนนซ์) จากสถาบันการเงินอื่น โดยทำประกันชีวิตเพื่อประกันสินเชื่อ จะได้อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3 ปี 2.50% ปีที่ 4 เป็นต้นไป MRR-1.50% ต่อปี (ปัจจุบัน MRR ของธนาคารฯ = 6.245%)

สินเชื่อธุรกิจ GSB D-VERs เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจการ ลงทุนในสินทรัพย์ถาวร หรือเพื่อไถ่ถอนจำนองจากสถาบันการเงินอื่น ธนาคารฯ ให้เงินกู้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว จำนวนเงินให้กู้ตั้งแต่ 1 ล้านบาท สูงสุดไม่เกิน 100 ล้านบาท

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป